พันธะสัญญาการให้บริการประชาชน

พันธะสัญญาการให้บริการประชาชน
ระหว่างสถานีตำรวจภูธรเมืองอุตรดิตถ์ และ กต.ตร.ประจำสถานีตำรวจ

 

วิธีการกำหนดพันธะสัญญาของสถานีตำรวจในการให้บริการประชาชนตามกรอบกิจกรรมของ ตร.ให้บริการประชาชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการผลักดันนโยบายลงสู่ภาคปฏิบัติโดยมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นให้สถานีตำรวจแต่ละสถานีให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนผู้รับบริการในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ระบบการทำงานและทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ในหน้างานด้านต่างๆของสถานีตำรวจซึ่งจะถือเป็นข้อผูกพันในการปฏิบัติเพื่อให้บริการประชาชน กรอบกิจกรรมในงานด้านต่าง ๆ ของสถานีตำรวจ   มีด้วยกัน 4 ด้าน ดังนี้

กรอบกิจกรรมงานด้านต่างๆ ตร.ได้กำหนดกรอบกิจกรรมของสถานีตำรวจที่จะต้องนำไปกำหนดพันธะสัญญา

                           1.งานธุรการและอำนวยการ

                           2.งานป้องกันปราบปราม

                           3.งานจราจร

                           4.งานสอบสวน

พันธะสัญญาของงานธุรการและอำนวยการ

 

ประเภทของงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

พันธะสัญญา

1.การขอตรวจสอบประวัติ  สมัครงานหรือศึกษาต่อ  

1. พบเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือและกรอกข้อความในเอกสาร
2.ส่งเรื่องไปตรวจสอบที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรรม
3.แจ้งผลการตรวจสอบประวัติ

ภายใน  20  วัน
.
.

2.การขออนุญาตเล่นงิ้ว

1. พบเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อตรวจสอบ หลักฐานเกี่ยวกับการแสดงงิ้ว
2.ส่งบทการแสดงไปตรวจสอบที่สันติบาล
3.รับผลการตรวจบทแปลจากสันติบาล
4.แจ้งผลการพิจารณา

ภายใน  7  วัน
.
.
.

3.การขอต่ออายุใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าว

 

1.พบเจ้าหน้าที่ที่ยื่นคำร้อง
2.ชำระเงินค่าธรรมเนียม
3.ลงรายการต่ออายุในใบสำคัญ
4.ออกใบเสร็จรับเงิน
5.นายทะเบียนลงนาม

ภายใน 30  นาที
.
.
.
.

4.แจ้งย้ายภูมิลำเนาคนต่างด้าว (ทั้งกรณีย้ายออกและย้ายเข้า)

1.นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และสำเนาทะเบียนบ้านมาพบเจ้าหน้าที่ธุรการ
2.เขียนคำร้อง
3.เจ้าหน้าที่ธุรการลงรายการในใบสำคัญฯ
4.นายทะเบียนลงนาม
5.(กรณีย้าย)ทำบันทึกขอรับเอกสารต้นเรื่องของคนต่างด้าวจากสถานีตำรวจเดิม

ภายใน 30  นาที
.
.
.
.

5.ขอปิดรูปถ่ายคนต่างด้าวเมื่อครบ ระยะ 5 ปี

1.พบเจ้าหน้าที่ธุรการ พร้อมภาพถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 4 รูป
2.เขียนคำร้อง
3.เจ้าหน้าที่ประทับตรา
4.นายทะเบียนลงนาม

ภายใน 30  นาที
.
.
.

6.การแจ้งการตายของคนต่างด้าว

1.นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและใบมรณบัตรพบเจ้าหน้าที่ธุรการ
2.หมายเหตุในเอกสารต้นเรื่องในใบสำคัญประจำคนต่างด้าว
3.นายทะเบียนลงนาม
4.ส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ภายใน 1 ชั่วโมง
.
.
.

7.ขอแปลงสัญชาติของคนต่างด้าว

1.เมื่อคนต่างด้าวได้รับราชกิจฯ ให้แปลงสัญชาติไทยได้แล้ว มาพบเจ้าหน้าที่ธุรการ
2.หมายเหตุในเอกสารต้นเรื่องใน
3.นายทะเบียนลงนาม
4.ส่งเรื่องไปยังสำนักตรวจคนเข้าเมือง

ภายใน 1 ชั่วโมง
.
.
.

8.การรับใบแทนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่ชำรุดหรือสูญหาย

1.นำหลักฐานใบแจ้งความสูญหายหรือชำรุดพร้อมถ่ายภาพและสำเนาทะเบียนบ้าน
. พบเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อยื่นคำร้องและชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
2.เจ้าหน้าที่ธุรการออกใบเสร็จ สอบปากคำ ตรวจสอบเอกสาร และออกเล่มใบสำคัญ
3.นายทะเบียนลงนาม

ภายใน 2 ชั่วโมง
.
.
.
.

9.ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวใหม่(ภายใน 7 วัน) 

1.พบเจ้าหน้าที่ธุรการพร้อมใบสำคัญถิ่นที่อยู่และหนังสือแจ้งนายทะเบียนท้องที่
. จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แล้วยื่นคำร้องชำระค่าธรรมเนียม
2.ตรวจสอบหลักฐานและยืนยันความถูกต้องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3.ชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
4.เจ้าหน้าที่ออกเล่มใหม่ให้
5.นายทะเบียนลงนาม
6.ส่งปลายขั้วไปสำนักตรวจคนเข้าเมือง

ภายใน 2 ชั่วโมง
.
.
.

10.ขอรับใบสำคัญประจำคนต่างด้าวใหม่ (เกินกำหนด 7 วัน )

1.พบเจ้าหน้าที่ธุรการพร้อมใบสำคัญฯ
2.ตรวจสอบหลักฐานและยืนยันความถูกต้องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3.ชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
4.เจ้าหน้าที่ออกเล่มใหม่ให้
5.นายทะเบียนลงนาม
6.ส่งปลายขั้วไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ภายใน  15 วัน
.
.
.
.
.

พันธะสัญญาของงานป้องกันและปราบปราม

ประเภทของงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

พันธะสัญญา

1. การบริหารงานสายตรวจ

องค์ประกอบในการบริหารงานสายตรวจประกอบด้วย
– ห้องปฏิบัติการสายตรวจ
– ข้อมูลในการวางแผนป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
– เครื่องมือสื่อสาร
– แผนเผชิญเหตุ
– แผนที่สถานภาพอาชญากรรม
– ตำรวจสายตรวจที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี
– ความร่วมมือจากประชาชนในการให้ข้อมูลข่าวสาร
– ผู้บังคับบัญชาอำนวยการในพื้นที่

สถานีจะมีองค์ประกอบ
ในการบริหารงานป้องกัน
ปราบปรามอาชญากรรม
อย่างครบถ้วน
.
.
.
.
.

2. ความพร้อมในการป้องกัน  ปราบปราม

– การแบ่งเขตการตรวจ
– การจัดประเภทสายตรวจ
– การประกอบกำลังออกปฏิบัติงาน

สถานมีความพร้อมในการ
ป้องกันปราบปราม และ
บริการตลอด 24 ชั่วโมง
โดยแบ่งพื้นที่ 3 เขตตรวจ
กำลัง 32 นาย และสมาชิก
แจ้งข่าวอาชญากรรม

3. การระงับเหตุ / ให้บริการ

– เมื่อมีการแจ้งเหตุร้าย หรือขอรับบริการ
– ตำรวจสายตรวจในพื้นที่ต้องรีบเดินทางไประงับเหตุ  และให้บริการ

– ภายใน 5 นาที
กรณีในเขตเทศบาล
– ภายใน 30 นาที
กรณีนอกเขตเทศบาล

4. การควบคุมผู้ต้องหา

– การควบคุมผู้ต้องหา ผู้ต้องกักขัง บนสถานีตำรวจ (ภายในห้องควบคุม)

ผู้ต้องหา/ผู้ต้องกักขังจะได้รับ
การควบคุมอย่างปลอดภัย
ในห้องควบคุมที่สะอาดและ
ตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

5. การรับโทรศัพท์แจ้งเหตุของสถาน

– ผู้แจ้งโทรศัพท์แจ้งเหตุมายังสถานี
– เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์รับข้อมูล

 

การรับโทรศัพท์แจ้งเหตุ
ที่สถานีตำรวจจัดโทรศัพท์
รับแจ้งเหตุไว้เฉพาะ
จำนวน 2 เลขหมาย

พันธะสัญญาของงานจราจร

 

ประเภทของงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

พันธะสัญญา

1.การจัดกำลังตำรวจควบคุมและจัดการ  จราจรประจำทางแยกหรือจุดที่มีปัญหา   การจราจร เช่น ทางแยกสำคัญ หน้าศูนย์การค้า สถานศึกษา หรือย่านชุมชน

 

–  มีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรประจำทางแยกสำคัญ
–  จุดสำคัญ เช่น หน้าศูนย์การค้า สถานศึกษา ย่านชุมชน
–  ช่วงเวลาที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ประจำจุด

– จัดกำลังประจำทางแยก
– จัดกำลังประจำจุดสำคัญ
– เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่
เวลา 06.00 – 18.00 น.

2.จัดกำลังตำรวจให้อำนวยความสะดวก การจราจร

–  จัดสายตรวจจราจรไว้อำนวยความสะดวกการจราจร
–  กรณีได้รับแจ้งอุบัติเหตุ / รถเสีย / ขอความช่วยเหลือ หรือ
–  การแก้ไขปัญหาจราจรกรณีเร่งด่วนเฉพาะเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนร้องขอ
ให้ดำเนินการและต้องปฏิบัติทันที
–  การจัดสายตรวจจราจรไว้อำนวยความสะดวกการจราจร

– ตลอด 24 ชั่วโมง
– ภายใน 5 นาที
– ภายใน 30 นาที
.
– จัดกำลังสายตรวจเพิ่ม

3.การอำนวยความสะดวกด้าน การ  เปรียบเทียบปรับคดีจราจร

 

–   เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจับกุมออกใบสั่งและเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่
ที่เรียกเก็บนำส่งให้เจ้าหน้าที่เปรียบเทียบปรับ ช่วงเวลาที่มีการจัดเจ้าหน้าที่
ไว้ทำการเปรียบเทียบคดีประจำสถาน
–   นำใบสั่งไปพบพนักงานสอบสวน เพื่อกำหนดอัตราเปรียบเทียบปรับ
ชำระค่าปรับและรับใบอนุญาตขับขี่

– ตลอด 24 ชั่วโมง
.
.
– ภายใน 30 นาที
.

4.การขออำนวยความสะดวก   ด้าน การจราจรทั่วไป

–   พบเจ้าหน้าที่เพื่อติดต่อหรือยื่นหนังสือ
–   พิจารณาดำเนินการแจ้งผลให้ทราบ
–   พิจารณาเสนอหน่ายงานหรือสั่งการ แจ้งผลให้ทราบ

– ภายใน 1 วันทำการ
กรณี สภ.ดำเนินการเองได้
– ภายใน 3 วันทำการ
กรณีประสานหน่วยอื่น

5.การอำนวยความสะดวก กรณีต้องขอใช้  พื้นผิวจราจร

–   พบเจ้าหน้าที่เพื่อติดต่อหรือยื่นหนังสือ
–  พิจารณาเสนอหน่ายงานหรือสั่งการ แจ้งผลให้ทราบ

– ภายใน 1 วันทำการ
กรณีประสานหน่วยเหนือ
– ภายใน 3 วันทำการ
กรณีประสานหน่วยอื่น

6.การขออำนวยความสะดวกด้านการ จราจร กรณีจะต้องออกคำสั่ง หรือ ข้อบังคับเกี่ยวกับจราจร

–   พบเจ้าหน้าที่เพื่อติดต่อหรือยื่นหนังสือ
–   หัวหน้าสถานีพิจารณามีความเห็นชอบ หรือเสนอตามลำดับชั้น
–   ส่งเรื่องไปยังกองบังคับการ และกองบัญชาการ เพื่อพิจารณา

– ภายใน 7  วันทำการ

 

พันธะสัญญาของงานสอบสวน

 

ประเภทของงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

พันธะสัญญา

1.การแจ้งเอกสารหาย

 

1. พบเจ้าหน้าที่เสมียนประจำวัน   เพื่อเขียนบันทึกประจำวันเอกสารหาย
2. พนักงานสอบสวนลงนามในบันทึกประจำวัน  ในหัวข้อที่รับแจ้ง
3. เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวัน มอบสำเนาบันทึกประจำวันให้ผู้แจ้ง
*  ประชาชนมีทางเลือกที่สามารถใช้บริการได้ที่สถานีตำรวจใกล้เคียงที่สะดวกตู้ยามตำรวจ  ที่ทำการตำรวจชุมชน  หรือหน่วยบริการเคลื่อนที่ของสถานีตำรวจ

ภายใน  30 นาที
.
.
.
.

2.การเปรียบเทียบปรับตามใบสั่ง

 

1.นำใบสั่งไปพบพนักงานสอบสวน เพื่อกำหนดอัตราเปรียบเทียบปรับ
2.ชำระค่าปรับที่เสมียนเปรียบเทียบปรับ รับใบเสร็จ และใบอนุญาตขับขี่
(กรณีไม่บันทึกผลคะแนน) เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่รายงานทางโปรแกรม TPM

ภายใน 30 นาที
.
.

3.การขอสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี

 

1.ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาบันทึกประจำวัน ต่อพนักงานสอบสวน
2.เมื่อหัวหน้าสถานีตำรวจพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตบัตรรับรองสำเนาถูกต้องมอบให้กับผู้แจ้ง

ภายใน 2 ชั่วโมง
.
.

4.การขอถอนคำร้องทุกข์

1.พนักงานสอบสวนเวรเจ้าของคดี หรือร้อยเวรตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.พนักงานสอบสวนตรวจสอบคดีและอธิบายขั้นตอนการดำเนินคดี
3.บันทึกปากคำ และลงลายมือชื่อในสมุดบัญชียึดและรักษาทรัพย์ (กรณีของกลาง) ลงบันทึกประจำวัน บันทึกการถอนคำร้องทุกข์ คดีความผิดอันยอมความได้

ภายใน 2 ชั่วโมง
.
.
.

5.การแจ้งความเป็นหลักฐานกรณีไม่เกี่ยวกับคดี

 

1.พนักงานสอบสวนซักถามรายละเอียดข้อเท็จจริง และตรวจสอบหลักฐาน
เอกสารที่เกี่ยวข้อง อธิบายข้อกฎหมาย
2.ลงบันทึกประจำวัน

ภายใน 1 ชั่วโมง
.
.

6.การขอประกันตัวผู้ต้องหา

1.ผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องนำหลักประกันยื่นคำร้อง
ขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานตำรวจ
2.พนักงานสอบสวนตรวจสอบหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
3.บันทึกสัญญาประกัน และมีความเห็นควรหรือไม่ควรอนุญาตให้ประกัน
4.ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกัน
5.ในกรณีที่อนุญาตให้ออกหลักฐานรับหลักประกัน และสัญญาประกันคู่ฉบับมอบให้นายประกัน
6.เจ้าหน้าที่เสมียนเวร ทำการบันทึกประจำวันเพื่อปล่อยตัวหรือไม่ปล่อยตัว

ภายใน 1 ชั่วโมง
กรณีไม่อนุญาตภายใน24ชม.
.
.
.
.
.
.

7.การคืนหลักทรัพย์ที่นำมาประกันตัวผู้ต้องหา

 

1.นำหลักฐานรับหลักประกันตัวผู้ต้องหาพบพนักงานสอบสวน หรือธุรการคดี
2.พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ธุรการทางคดี ตรวจสอบบันทึกผลคดีถึงที่สุดหรือบันทึกเหตุที่ถอนคดีได้
3.พนักงานสอบสวนมีความเห็นให้ถอนสัญญาประกัน
4.เจ้าหน้าที่เสมียนเวรลงบันทึกประจำวันและมอบหลักทรัพย์คืนให้นายประกัน

ภายใน 1 ชั่วโมง
.
.
.
.

8.การตรวจสอบสภาพรถในคดีจราจร

 

1.พนักงานสอบสวนทำบันทึกส่งรถไปตรวจสภาพ
2.นำรถไปตรวจสภาพที่กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้ชำนาญการอื่น
แต่ต้องสอบสวนให้ปรากฏความรู้ ความชำนาญในเรื่องนั้นไว้ด้วย

ภายใน 1  วัน
.
.

9.การคืนของกลางกรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดไม่ริบหรืออัยการแจ้งให้คืน

1.นำหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบพนักงานสอบสวน
2.พนักงานสอบสวนตรวจสอบหลักฐานและพิจารณาเสนอผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลาง
3.ลงบันทึกประจำวันคืนของกลาง และลงลายมือชื่อรับในสมุดบัญชียึดของกลาง

ภายใน 2  ชั่วโมง
.
.

10.การแจ้งความคืบหน้าของคดี
.

พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือถึงผู้เสียหาย
.

ทุก 1 เดือนจนกว่า
การสอบสวนจะเสร็จสิ้น

11.การแจ้งให้ญาติหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้ใจทราบการจับกุม
เมื่อผู้ถูกจับร้องขอ

เจ้าพนักงานตำรวจผู้ควบคุมผู้ต้องหาเป็นผู้แจ้ง หรือประสานงานตำรวจท้องที่ ที่ญาติหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจ มีภูมิลำเนาอยู่เป็นผู้แจ้ง

ในโอกาสแรก
.

พันธะสัญญากับข้าราชการตำรวจ

 

ประเภทของงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

พันธะสัญญา

1. การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำป

1.ตร.มีหนังสือสั่งการแจ้งหน่วยจัดทำบัญช(สน.,สภ.,กก.,บก.,ภ.จว./บช.,ตร.ภาค
2.คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนของหน่ายจัดทำบัญชีแต่ละระดับประชุมพิจารณา

ภายใน 7  วัน
.

2. การแต่งตั้งกรณีร้องขอกลับภูมิลำเนา

1.ข้าราชการตำรวจที่ประสงค์ขอรับการแต่งตั้งยื่นคำร้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น  พิจารณาและมีความเห็น (ผู้บังคับบัญชาในสายงาน , ผกก. , ผบก.)

ภายใน  1  วัน
.

3. การขอเลื่อนยศ (ชั้นประทวน )

1.ข้าราชการตำรวจที่คุณสมบัติครบถ้วนและเจ้าหน้าที่ธุรการของสถานี
ตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นคำร้องพร้อมเอกสาร

ภายใน 7  วัน
.

4. การขอเลื่อนยศ ( ชั้นสัญญาบัตร )

1.ข้าราชการตำรวจที่คุณสมบัติครบถ้วนและเจ้าหน้าที่ธุรการของสถานี
ตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นคำร้องพร้อมเอกสาร

ภายใน 7  วัน
.

5.การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

1.ตร.มีหนังสือสั่งการแจ้งหน่ายต่าง ๆ รวบรวมรายชื่อข้าราชการตำรวจ
ที่คุณสมบัติครบถ้วนเสนอภายในกำหนด

ภายใน 7  วัน
.

6. การขอรับบำเหน็จบำนาญหรือบำเหน็จตกทอด

 

1.ผู้มีสิทธิ์รับบำเหน็จบำนาญฯ หรือทายาทยื่นเรื่องต่อหัวหน้าสถานีตำรวจ / ผกก.พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.หัวหน้าสถานีตำรวจ / ผกก. ลงนามในเอกสารเสนอ ผบก.

ภายใน 7  วัน
.
.

7. การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการ

1.ข้าราชการตำรวจยื่นคำร้องพร้อมหลักฐาน เสนอผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับชั้นพิจารณาลงนาม

ภายใน 1  วัน
.

8. การดำเนินการทางวินัยกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง

1.ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดกล่าวโทษ หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวน
2.ถ้าปรากฏมูลความผิดก็ให้ลงทัณฑ์ หรือถ้าไม่ผิดก็ให้ยุติเรื่อง

ภายใน 1  วัน
ภายใน 3  วัน

9. การดำเนินการทางวินัยกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

 

1.ผู้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการตำรวจตั้งแต่ชั้นพลตำรวจถึง จ.ส.ต. ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ดำเนินการและพิจารณามีความเห็นในการลงโทษ
2.ผู้ถูกกล่าวโทษเป็นข้าราชการตำรวจตั้งแต่ชั้นยศ ด.ต.–นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ผบช.เป็นผู้สั่งตั้งกรรมการและคณะกรรมการจะต้องสอบสวนให้เสร็จสิ้นตามกฎ กพ. ฉบับที่ 18 ( พ.ศ.2540 )

ภายใน 1  วัน
.
ภายใน 7  วัน
.
.

10. การร้องทุกข์กรณีถูกลงทัณฑ์

1.ผู้ถูกลงทัณฑ์ยื่นหนังสือทำเป็นคำชี้แจงเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง

ภายใน 1  วัน

11.การขอให้พนักงานอัยการเป็นทนายแก้ต่างกรณีถูกฟ้อง
เนื่องจากการปฏิบัตหน้าที่ราชการหรือถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

1.ยื่นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงให้ปรากฏรายละเอียด
และข้อเท็จจริงว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

ภายใน 3  วัน
.

12.การขอที่พักอาศัย (กรณีอาคารอิสระของ สภ.)

.

1.ข้าราชการตำรวจยื่นคำร้องพร้อมเอกสารเสนอต้นสังกัด
2.ต้นสังกัดตรวจสอบหลักฐานและจัดลำดับ
3.คณะกรรมการระดับ สภ. พิจารณาจัดเข้าพักอาศัย

ภายใน 1  วัน
.
.

13.การขอรับเงินจากมูลนิธิสงเคราะห์ข้าราชการตำรวจ

1.ข้าราชการตำรวจหรือทายาทยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงระดับ บก./ภ.จว.

ภายใน 3  วัน
.

14.การขอรับเงินทุนการศึกษาบุตร – ธิดาข้าราชการตำรวจ
จากสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจภูธรจังหวัด

1.ข้าราชการตำรวจยื่นคำร้องขอรับทุนการศึกษาพร้อมหลักฐานประกอบเสนอผู้บังคับบัญชาจนถึง ผบก.

แล้วแต่เวลาที่กำหนด
( ประมาณ ต.ค.ของทุกปี )

15.การขอรับเงินช่วยเหลือจากมูลนิธและกองทุนของตำรวจ

1.ข้าราชการตำรวจยื่นคำร้องขอรับทุนการศึกษาพร้อมหลักฐานประกอบเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

ภายใน 3  วัน
.

16. การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล

1.ข้าราชการตำรวจที่ประสงค์ขอรับเงินค่ารักษาพยาบาลยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานเสนอ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นพิจารณา จนถึง บก. หรือ ภ.จว.พิจารณา

ภายใน 3  วัน
.

17. การเบิกเงินค่าเล่าเรียนบุตร

1.ข้าราชการตำรวจที่ประสงค์ขอรับเงินค่าเล่าเรียนบุตรยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นพิจารณาจนถึง บก. หรือ ภ.จว. พิจารณา

ภายใน 2  วัน
.

18. การเบิกเงินค่าล่วงเวลา

 

1.ผกก.สน./สภ. ออกคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
2.เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเสนอเรื่องถึง ผกก. สน./ สภ. พร้อมหลักฐานการลงเวลาปฏิบัติราชการลงนาม เสนอ บก./ ภ.จว. พิจารณา

ภายใน –  วัน
.
.

19. การเบิกเงินค่าตอบแทนพนักงานสอบสวน

 

1.พนักงานสอบสวนยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ธุรการ
2.เจ้าหน้าที่ธุรการตรวจสอบความถูกต้อง เสนอ ผกก. ลงนามเสนอ บก./ ภ.จว.พิจารณา

ภายใน 3  วัน
.
.

20. การเบิกเงินรางวัลจราจร
.

1.เจ้าหน้าที่ธุรการรวบรวมยอดเงินผู้ชำระค่าปรับ ซึ่งต้องจัดสรรให้ท้องถิ่นร้อยละ 50 เป็นส่วนของตำรวจร้อยละ 50 แล้วเสนอ ผกก.

ภายใน 3  วัน
.

21. การเบิกเงินสินบนการพนัน

 

1.เจ้าหน้าที่ธุรการรวบรวมบัญชีผลคำพิพากษาของศาล แล้วให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบความถูกต้อง แล้วลงนามในเอกสาร
2. ผกก.ลงนามในเอกสารเสนอ ศาลแขวงนครราชสีมา

ภายใน 1  วัน

ภายใน 1  วัน